HIGHLIGHTS

20 ธันวาคม 2020

ว่ายน้ำ
READ MORE

20 ธันวาคม 2020

โยคะ
READ MORE

เราควรพิจารณาอะไรบ้างก่อนเริ่มทำเด็กหลอดแก้ว?
READ MORE

การทำเด็กหลอดแก้วใช้เวลานานแค่ไหน?
READ MORE

ข้อดี และ ข้อเสีย ของการทำ IVF
READ MORE

การฉีดวัคซีนโควิด 19 มีผลต่อการทำเด็กหลอดแก้วหรือไม่
READ MORE

ยกน้ำหนัก
READ MORE

19 ธันวาคม 2020

เดินเร็ว
READ MORE

20 ธันวาคม 2020

Kegels
READ MORE

20 ธันวาคม 2020

5 ท่าโยคะสำหรับคู่รัก เสริมความสัมพันธ์ชีวิตคู่อัพเลเวลความฟินเรื่องบนเตียง
READ MORE

20 ธันวาคม 2020

มีเพศสัมพันธ์บ่อยน้ำเชื้อจะอ่อนลงจริงหรือ
READ MORE

20 ธันวาคม 2020

โฟเลตสารอาหารสำคัญก่อนฝากไข่-ฝากอสุจิ
READ MORE

20 ธันวาคม 2020

โปรตีนสารอาหารสำคัญของผู้หญิงเตรียมตั้งครรภ์-เตรียมฝากไข่
READ MORE

อาหารเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการที่ควรกินก่อนทำ ICSI (อิ๊กซี่)
READ MORE

อายุเกิน 40 ควรพิจารณาการทำ IVF ดีมั้ย?
READ MORE

20 ธันวาคม 2020

7 ขั้นตอนดูแลตัวเองและภรรยาก่อนการเก็บไข่-เก็บอสุจิ
READ MORE

20 ธันวาคม 2020

CoQ10 สารอาหารสำคัญหญิงเตรียมตั้งครรภ์
READ MORE

ICSI มาแล้ว 10 ครั้ง 4 แห่ง
READ MORE

ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่
READ MORE

อะไรคือสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก?
READ MORE

ไข่ที่ถูกแช่แข็งสามารถถูกเก็บรักษาไว้ได้นานเท่าไหร่?
READ MORE

TESE คืออะไร และ TESE เหมาะกับใคร?
READ MORE

ทำไมการตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์จึงสำคัญสำหรับทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง?
READ MORE

20 ธันวาคม 2020

4 วิธีการปฏิบัติตัวช่วงวางแผนตั้งครรภ์
READ MORE

04 มิถุนายน 2022

Congratulations Take the first step to the parenthood with BCC
READ MORE

กระบวนการเลือกคลินิกรักษาผู้มีบุตรยากและสิ่งที่ต้องพิจารณาเมื่อตัดสินใจ
READ MORE

ความสำคัญของการดูแลสุขภาพจิตระหว่างการรักษาภาวะมีบุตรยาก
READ MORE

ทำไมประเทศไทยจึงกลายเป็นจุดหมายหลักของตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้มีบุตรยาก
READ MORE

การตั้งครรภ์และโรคภูมิแพ้: วิธีจัดการและป้องกัน
READ MORE

IVF คืออะไร?
READ MORE

IUI คืออะไร? ทำความเข้าใจกับการฉีดอสุจิเข้าโพรงมดลูก
READ MORE

เคล็ด(ไม่)ลับ เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเริ่มต้นครอบครัว
READ MORE

ภาวะมีบุตรยาก มีลูกลำบาก เกิดจากอะไร
READ MORE

ภาวะมีบุตรยากในเพศชาย : การทำความเข้าใจถึงสาเหตุ การทดสอบ และทางเลือกในการรักษา
READ MORE

เคล็ดลับในการจัดการความเครียดในขณะพยายามตั้งครรภ์
READ MORE

เส้นทางสู่การเป็นคุณพ่อคุณแม่ด้วยกระบวนการรักษาภาวะมีบุตรยาก
READ MORE

วิทยาศาสตร์กับการทำ ICSI: มีกระบวนการและขั้นตอนอย่างไร?
READ MORE

ภาวะมีบุตรยากแบบทุติยภูมิ: การทำความเข้าใจถึงความท้าทายของการตั้งครรภ์ครั้งที่สอง
READ MORE

การรักษาภาวะการเจริญพันธุ์: ตัวเลือกและข้อพิจารณาสำหรับคุณและคู่รักของคุณ
READ MORE

ความเสี่ยงและประโยชน์ของกระบวนการทำ TESE ในการรักษาภาวะมีบุตรยากในชาย
READ MORE

แท้งบุตร อยากท้องใหม่ยากไหม? ข้อพิจารณาด้านอารมณ์และด้านการแพทย์
READ MORE

การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนฝังตัว (PGT) คืออะไรและมีประโยชน์ยังไง?
READ MORE

ทำความเข้าใจการตั้งครรภ์ลูกแฝดจากกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF)
READ MORE

หากเคยแท้งบุตร อยากท้องใหม่ยากไหม? ข้อพิจารณาด้านอารมณ์และด้านการแพทย์
READ MORE

จุดหมายหลักของการรักษา IVF: ทำไมกรุงเทพฯ จึงกลายเป็นจุดหมายอันดับต้น ๆ ในการรักษาภาวะมีบุตรยากของชาวต่างชาติ
READ MORE

28 พฤษภาคม 2020

การมีลูกตามวิธีธรรมชาติ
READ MORE

22 ธันวาคม 2021

ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่
READ MORE

27 พฤษภาคม 2020

บันทึกข้อมูลรอบประจำเดือนอย่างสม่ำเสมอ
READ MORE

27 พฤษภาคม 2020

สังเกตการตกไข่
READ MORE

22 ธันวาคม 2021

ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่
READ MORE

27 พฤษภาคม 2020

เลิกนิสัยสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์จัด
READ MORE

27 พฤษภาคม 2020

เว้นจากการออกกำลังกายหนักหน่วง
READ MORE

27 พฤษภาคม 2020

รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
READ MORE

27 พฤษภาคม 2020

รับประทานวิตามินเสริมก่อนคลอด
READ MORE

27 พฤษภาคม 2020

รักษาน้ำหนักให้ร่างกายมีสุขภาพดี
READ MORE

27 พฤษภาคม 2020

ระวังเรื่องภาวะการเสื่อมลงที่เกี่ยวข้องกับอายุ
READ MORE

27 พฤษภาคม 2020

รู้ว่าเมื่อไหร่ที่จะต้องความช่วยเหลือ
READ MORE

อิ๊กซี่ (ICSI) คืออะไร: ภาพรวมของกระบวนการและผลลัพธ์

06 ก.ค. 2023

สำหรับคู่รักที่ประสบปัญหาภาวะมีบุตรยาก เส้นทางสู่การเป็นพ่อแม่อาจเต็มไปด้วยอุปสรรคและความเศร้าเสียใจ หนึ่งในความก้าวหน้าล่าสุดของการรักษาภาวะมีบุตรยากคือการทำอิ๊กซี่ (ICSI) หรือ Intracytoplasmic Sperm Injection ซึ่งเป็นกระบวนการที่ช่วยให้กำเนิดชีวิตมากมาย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่เราจะต้องเข้าใจบทบาทของอิ๊กซี่ในการรักษาภาวะมีบุตรยากและความก้าวหน้าล่าสุดในเทคโนโลยีแขนงนี้

ดังนั้น อิ๊กซี่คืออะไร? บทความนี้จะพาไปสำรวจความซับซ้อนของอิ๊กซี่ การทำงาน และขั้นตอนต่าง ๆ ในกระบวนการอันล้ำสมัยนี้

ICSI คืออะไร? สรุปโดยย่อ

  • อิ๊กซี่คือกระบวนการรักษาภาวะมีบุตรยากที่รักษาได้ทั้งในเพศชายและหญิง
  • อัตราความสำเร็จของอิ๊กซี่มักอยู่ระหว่าง 70-85% โดยมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อผลลัพธ์
  • ความเสี่ยงที่เกี่ยวพันกับอิ๊กซี่ ได้แก่ ความผิดปกติโดยกำเนิด ความผิดปกติของโครโมโซม โรคออทิซึม และภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ 

ทำความเข้าใจ ICSI: Intracytoplasmic Sperm Injection

Intracytoplasmic Sperm Injection (ICSI) หรืออิ๊กซี่ คือกระบวนการพิเศษที่ถูกนำมาใช้ในการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF Treatment) เพื่อรักษาภาวะมีบุตรยากขั้นรุนแรงในเพศชาย ส่วนสำคัญของกระบวนการอิ๊กซี่คือการฉีดอสุจิหนึ่งตัวเข้าไปในไข่ที่โตแล้วโดยตรงด้วยอุปกรณ์พิเศษในห้องปฏิบัติการ 

ความแตกต่างเดียวระหว่างอิ๊กซี่และ IVF คือแทนที่จะผสมอสุจิกับไข่และปล่อยให้เกิดการปฏิสนธิ นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนจะฉีดอสุจิหนึ่งตัวเข้าไปในไข่ การฉีดอสุจิเข้าไปโดยตรงจะเพิ่มโอกาสในการปฏิสนธิโดยหลีกเลี่ยงอุปสรรคที่อสุจิอาจต้องเจอเมื่อพยายามจะเจาะเข้าไปในไข่

กระบวนการอิ๊กซี่ (ICSI)

ICSI Treatment มีกระบวนการเหมือน การทำเด็กหลอดแก้ว IVF Treatment ปกติ ยกเว้นขั้นตอนการปฏิสนธิ โดยจะมีการใช้ไมโครปิเปตเพื่อฉีดอสุจิหนึ่งตัวเข้าสู่ใจกลางของไข่ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องอาศัยความสามารถในการเคลื่อนที่ของอสุจิ แถมยังเพิ่มโอกาสสำเร็จของการปฏิสนธิอีกด้วย

เทคนิคนี้ผ่านการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพมากในกรณีที่ภาวะมีบุตรยากในเพศชายค่อนข้างรุนแรง เช่น มีจำนวนอสุจิน้อย ความสามารถในการเคลื่อนที่ของอสุจิต่ำ หรือมีการอุดตันของทางเดินอสุจิ

บทบาทของอิ๊กซี่ในเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์

อิ๊กซี่คือส่วนสำคัญของเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ หรือ Assisted Reproductive Technology (ART) และถูกนำมาใช้เมื่อภาวะมีบุตรยากในเพศชายเป็นปัจจัยหนึ่งของการตั้งครรภ์ อิ๊กซี่เป็นทางออกสำหรับคู่รักที่มีลักษณะอสุจิไม่สมบูรณ์อย่างรุนแรง เช่น ตรวจไม่พบเชื้ออสุจิโดยกำเนิดหรือในเครื่องปั่นเหวี่ยง ดังนั้นวิธีนี้จึงทำให้คู่รักเหล่านี้ผ่านพ้นอุปสรรคของภาวะมีบุตรยากไปได้

แม้ว่าอิ๊กซี่จะได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นเครื่องมืออันทรงพลังในการแก้ปัญหาภาวะมีบุตรยากในเพศชาย สิ่งที่สำคัญคือการตระหนักว่ากระบวนการนี้มีความเสี่ยง เช่น อาจเพิ่มโอกาสที่จะเกิดความผิดปกติโดยกำเนิด การแท้ง และภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป

ภาวะมีบุตรยากที่มีสาเหตุจากเพศชาย & อิ๊กซี่

อิ๊กซี่ หรือ ICSI (Intra Cytoplasmic Sperm Injection) เป็นการรักษาภาวะมีบุตรยากที่ประสบผลสำเร็จในคู่รักมากมายที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะมีบุตรยากในเพศชาย หากคุณยังไม่ได้รับการตรวจ เราขอแนะนำให้คุณเข้ารับการตรวจความพร้อมเบื้องต้นก่อนมีบุตรสำหรับเพศชาย (Male Fertility Check-Up) ภาวะมีบุตรยากในเพศชาย ได้แก่ การมีจำนวนอสุจิน้อย การมีปัญหาเกี่ยวกับรูปร่างหรือการเคลื่อนที่ของอสุจิ การมีภูมิต้านทานต่อตัวอสุจิ หรือการผ่านการทำหมันมาแล้ว หรือการไม่ประสบความสำเร็จในการแก้หมัน ในกรณีของภาวะมีบุตรยากที่มีสาเหตุจากเพศชาย อิ๊กซี่คือทางเลือกที่แนะนำสำหรับคู่รักที่มีอัตราการปฏิสนธิต่ำหรือไม่มีเลยเมื่อใช้วิธี IVF Treatment

การใช้เข็มเจาะดูดอสุจิและการเก็บอสุจิด้วยการผ่าตัดโดยใช้กล้องจุลทรรศน์เป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับกรณีที่การผ่าตัดแก้หมันไม่ประสบผลสำเร็จ อีกทั้งทางเลือกเหล่านี้ยังเหมาะสำหรับผู้ชายที่เลือกที่จะไม่ผ่าตัดอีกด้วย

หากมีจำนวนอสุจิน้อย

ในกรณีที่จำนวนอสุจิน้อย อิ๊กซี่เป็นทางแก้ที่มีประสิทธิภาพเนื่องจากสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้โดยการฉีดอสุจิหนึ่งตัวเข้าไปในไข่โดยตรง อัตราความสำเร็จของอิ๊กซี่ในกรณีที่จำนวนอสุจิน้อยนั้นแตกต่างกันไป แต่อัตราการปฏิสนธิที่สำเร็จจากอิ๊กซี่เป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จที่เชื่อถือได้โดยมีรายงานจากห้องปฏิบัติการ IVF ว่าอัตราการปฏิสนธิอยู่ระหว่าง 80-85%

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวพันกับอิ๊กซี่และจำนวนอสุจิที่น้อย รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดความผิดปกติของโครโมโซม ความเสี่ยงที่มากขึ้นในการแท้ง และความเป็นไปได้ที่มากขึ้นในการตั้งครรภ์แฝด

ความสามารถในการเคลื่อนที่ของอสุจิต่ำ

Asthenozoospermia เป็นภาวะที่อสุจิเคลื่อนที่ได้น้อยหรือไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เลย นับเป็นหนึ่งในปัญหาภาวะมีบุตรยากในเพศชายที่สามารถแก้ได้ด้วยอิ๊กซี่ วิธีการฉีดอสุจิหนึ่งตัวเข้าไปในไข่ไม่จำเป็นต้องอาศัยความสามารถในการเคลื่อนที่ของอสุจิ ทำให้สามารถเพิ่มโอกาสสำเร็จในการปฏิสนธิได้

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงเกี่ยวกับอิ๊กซี่ในเพศชายที่มีภาวะอสุจิเคลื่อนที่ได้น้อยได้แก่ความเสี่ยงที่มากขึ้นในการเกิดความผิดปกติของโครโมโซมในตัวอ่อน และความเป็นไปได้มากขึ้นในการแท้ง

Obstructive หรือ Non-Obstructive Azoospermia

อิ๊กซี่สามารถรักษาภาวะ Obstructive หรือ Non-Obstructive Azoospermia ซึ่งเป็นภาวะที่อัณฑะไม่สามารถผลิตอสุจิหรือมีการอุดตันของทางเดินอสุจิ หากโอกาสที่จะเก็บอสุจิที่ใช้ได้มีต่ำ อาจมีการพิจารณาเลือกใช้อสุจิบริจาคเป็นหนึ่งทางเลือก

สำหรับผู้ที่มีภาวะ Azoospermia, ไม่มีการหลั่ง, หรือหลั่งย้อนทาง และต้องการเก็บอสุจิ อาจมีการรีดน้ำเชื้อโดยวิธีการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าและการเก็บอสุจิจากอัณฑะ ซึ่งสามารถทำได้ในโรงพยาบาล

ภาวะมีบุตรยากในผู้หญิงและการทำอิ๊กซี่

แม้อิ๊กซี่จะถูกนำมาใช้รักษาภาวะมีบุตรยากในเพศชายเป็นหลัก แต่ก็สามารถลดปัญหาบางอย่างเกี่ยวกับภาวะมีบุตรยากในเพศหญิงได้เช่นกัน โดยขั้นตอนการเตรียมตัวสำหรับอิ๊กซี่ประกอบด้วยการเก็บตัวอย่างอสุจิจากผู้ป่วยชายหรือผู้บริจาคอสุจิ ตามด้วยการปั่นล้างและคัดเลือกอสุจิ

กระบวนการอิ๊กซี่ประกอบด้วยการกระตุ้นรังไข่ การเก็บไข่ และการเก็บอสุจิ ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้มีความสำคัญต่อความสำเร็จของกระบวนการ และเพิ่มโอกาสสำเร็จในการปฏิสนธิ

การเตรียมตัวเข้าสู่กระบวนการอิ๊กซี่

ก่อนเข้ารับการรักษาด้วยกระบวนการอิ๊กซี่ คลินิกรักษาภาวะมีบุตรยากจะต้องเก็บไข่และอสุจิ การเตรียมการสำหรับกระบวนการอิ๊กซี่นั้นประกอบไปด้วยหลายขั้นตอน รวมถึงการกระตุ้นรังไข่ การเก็บไข่ และการเก็บอสุจิ

ทีมห้องปฏิบัติการ IVF มีหน้าที่รับผิดชอบในขั้นตอนที่สำคัญเพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพของกระบวนการอิ๊กซี่

การกระตุ้นรังไข่

การกระตุ้นรังไข่เป็นขั้นตอนที่สำคัญของกระบวนการอิ๊กซี่ ซึ่งผู้หญิงจะได้รับยาเพื่อกระตุ้นรังไข่ จุดประสงค์ของการกระตุ้นรังไข่คือเพิ่มจำนวนไข่ที่สามารถนำมาปฏิสนธิได้ ดังนั้นจึงเป็นการเพิ่มโอกาสสำเร็จของกระบวนการอิ๊กซี่ด้วยเช่นกัน

การเก็บไข่

การเก็บไข่เป็นอีกหนึ่งกระบวนการที่สำคัญของอิ๊กซี่ โดยไข่จะถูกนำมาใช้ในกระบวนการฉีดอสุจิที่แข็งแรงหนึ่งตัวเข้าไปในไข่ที่โตแล้วโดยตรง กระบวนการเก็บไข่ของอิ๊กซี่เป็นการใช้อัลตราซาวด์บอกตำแหน่งและนำทางเข็มขนาดเล็กผ่านทางอุ้งเชิงกรานเข้าไปเจาะดูดไข่ที่โตแล้วจากรังไข่ของผู้หญิง

กระบวนการนี้มีความสำคัญมากต่อความสำเร็จของกระบวนการอิ๊กซี่ อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสสำเร็จในการปฏิสนธิอีกด้วย

การเก็บอสุจิ

การเก็บอสุจิเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งของกระบวนการอิ๊กซี่ เนื่องจากเป็นการเก็บอสุจิที่จะนำมาใช้ การเก็บอสุจิจะต้องทำในวันเดียวกับการเก็บไข่ เว้นแต่ว่าจะมีการใช้อสุจิแช่แข็ง

หลังการเก็บอสุจิ จะมีการวิเคราะห์น้ำเชื้อทันทีเพื่อประเมินปริมาณของอสุจิ การเคลื่อนที่ของอสุจิ รวมถึงคุณภาพของอสุจิ หากจำเป็น ทางห้องปฏิบัติการอาจแช่แข็งและเก็บอสุจิ (ในธนาคารอสุจิ) สำหรับการปฏิสนธินอกร่างกายในอนาคตที่คลินิก 

อัตราความสำเร็จและความเสี่ยงของอิ๊กซี่

มีการสำรวจว่าอิ๊กซี่สามารถปฏิสนธิไข่ได้ 50-80% ทำให้อิ๊กซี่กลายเป็นวิธีที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักว่าอัตราการตั้งครรภ์ที่สำเร็จด้วยกระบวนการอิ๊กซี่และ IVF มีเท่า ๆ กัน

เมื่อปฏิสนธิสำเร็จ ความเป็นไปได้ที่จะให้กำเนิดทารกหนึ่งคน ทารกแฝดสอง หรือแฝดสามมีเท่ากับคู่รักที่ผ่านกระบวนการปฏิสนธินอกร่างกาย (IVF) แม้จะใช้หรือไม่ใช้กระบวนการอิ๊กซี่ก็ตาม

อัตราความสำเร็จ

อัตราความสำเร็จของอิ๊กซี่มีความแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม โดยเฉลี่ยแล้ว ไข่ 70-85% ที่ถูกฉีดอสุจิเข้าไปจะมีการปฏิสนธิ แต่ก็ควรตระหนักไว้เช่นกันว่าการปฏิสนธิไม่ได้นำไปสู่การตั้งครรภ์ที่สำเร็จเสมอไป

มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราความสำเร็จของอิ๊กซี่ เช่น อายุของผู้หญิง คุณภาพของอสุจิ คุณภาพของไข่ และความเชี่ยวชาญของแพทย์ที่ทำการรักษา

ความเสี่ยง

มีงานวิจัยเผยว่าอิ๊กซี่มีความเสี่ยงสูงกว่าการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธีอื่นเล็กน้อย ซึ่งรวมถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียหายต่อไข่ระหว่างการทำความสะอาดและกระบวนการฉีดอสุจิ นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงมากกว่าในแง่ของความผิดปกติโดยกำเนิด เช่น กลุ่มอาการเบ็ควิท-ไวเดอมานน์ โรคแอนเจลแมน ภาวะรูเปิดท่อปัสสาวะต่ำกว่าปกติ และความผิดปกติของโครโมโซมเพศ

ทั้งนี้ งานวิจัยยังบ่งชี้อีกว่าอิ๊กซี่อาจเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติของโครโมโซม โรคออทิซึม และภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ และภาวะเลือดออก นอกจากนี้ยังมีโอกาสสูงขึ้นเล็กน้อยที่เด็กชายที่เกิดจากกระบวนการอิ๊กซี่จะมีภาวะมีบุตรยากเช่นกัน

หลังกระบวนการอิ๊กซี่

หลังกระบวนการอิ๊กซี่ ไข่ที่ผ่านการปฏิสนธิแล้วจะถูกสังเกตการณ์ในห้องปฏิบัติการเป็นเวลาหลายวันเพื่อให้แน่ใจว่ามีการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสม นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนจะประเมินไข่เพื่อหาสัญญาณการแบ่งเซลล์และการเจริญเติบโต รวมทั้งประเมินขนาดของตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ ซึ่งเป็นระยะการเติบโตของตัวอ่อนหลังจากการแบ่งเซลล์ผ่านไปแล้วหลายวัน ขนาดของตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญของสุขภาพและความอยู่รอดของตัวอ่อน

กระบวนการย้ายตัวอ่อนคือขั้นตอนการย้ายตัวอ่อนจากห้องปฏิบัติการเข้าสู่มดลูก ซึ่งเป็นที่ที่จะเกิดการฝังตัวและเจริญเติบโต โดยการตรวจครรภ์จะสามารถทำได้หลังการย้ายตัวอ่อนประมาณ 9 วัน 

สรุป

ตลอดบทความนี้ เราได้สำรวจความซับซ้อนของอิ๊กซี่ การทำงานของอิ๊กซี่ในการรักษาภาวะมีบุตรยากในเพศชาย และขั้นตอนต่าง ๆ ในกระบวนการอันล้ำสมัยนี้ จากการทำความเข้าใจในกระบวนการอิ๊กซี่และบทบาทของอิ๊กซี่ในด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ไปจนถึงการพิจารณาอัตราความสำเร็จและความเสี่ยง จะเห็นได้ชัดว่าอิ๊กซี่คือตัวพลิกเกมในโลกของการรักษาภาวะมีบุตรยาก ในขณะที่เรามีความก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ ในด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ สิ่งสำคัญคือการหมั่นติดตามความก้าวหน้าล่าสุดและและการค้นพบใหม่ ๆ เพื่อให้คุณสามารถตัดสินใจได้อย่างมีความรู้ในเส้นทางสู่การเป็นพ่อแม่ เราขอให้ความรู้จากบทความนี้เป็นพลังและนำทางคุณในเส้นทางสู่การสร้างครอบครัวในฝัน 

คำถามที่พบบ่อย

อิ๊กซี่ต่างจากกระบวนการปกติอย่างไร?

อิ๊กซี่เป็นรูปแบบหนึ่งของการปฏิสนธินอกร่างกาย โดยอสุจิที่แข็งแรงหนึ่งตัวจะถูกฉีดเข้าไปในไข่ที่โตแล้วโดยตรงแทนที่จะอาศัยการปฏิสนธิตามธรรมชาติ วิธีนี้ช่วยให้เราสามารถควบคุมอัตราความสำเร็จของการปฏิสนธิได้มากขึ้น และมีประโยชน์โดยเฉพาะเมื่อต้องจัดการกับอสุจิที่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะมีบุตรยาก

ด้วยเหตุนี้ อิ๊กซี่จึงแตกต่างจากวิธี IVF ปกติ

อิ๊กซี่ถูกนำมาใช้เพื่ออะไร?

อิ๊กซี่เป็นการรักษาภาวะมีบุตรยากที่ถูกนำมาใช้ร่วมกับการปฏิสนธินอกร่างกาย (IVF) โดยการฉีดอสุจิหนึ่งตัวเข้าไปในไข่โดยตรงเพื่อการปฏิสนธิที่ประสบความสำเร็จ อิ๊กซี่มักจะถูกนำมาใช้ในกรณีของภาวะมีบุตรยากในเพศชาย เช่น การมีจำนวนอสุจิน้อย หรือความสามารถในการเคลื่อนที่ของอสุจิต่ำ

อิ๊กซี่เหมาะสมกับ IVF หรือไม่?

แน่นอน อิ๊กซี่มีประโยชน์ต่อ IVF เนื่องจากช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการและเพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์ ด้วยเหตุนี้ อิ๊กซี่จึงกลายเป็นตัวเลือกที่ดีในการแก้ปัญหาภาวะมีบุตรยาก

หากคุณมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับอิ๊กซี่ สามารถติดต่อทีมของเราที่ Bangkok Central Clinic IVF & Wellness เราคือคลินิกรักษาผู้มีบุตรยากที่มีเกียรติประวัติผลงานในการรักษาผู้ป่วย

HIGHLIGHTS

20 ธันวาคม 2020

ว่ายน้ำ
READ MORE

20 ธันวาคม 2020

โยคะ
READ MORE

เราควรพิจารณาอะไรบ้างก่อนเริ่มทำเด็กหลอดแก้ว?
READ MORE

การทำเด็กหลอดแก้วใช้เวลานานแค่ไหน?
READ MORE

ข้อดี และ ข้อเสีย ของการทำ IVF
READ MORE

การฉีดวัคซีนโควิด 19 มีผลต่อการทำเด็กหลอดแก้วหรือไม่
READ MORE

ยกน้ำหนัก
READ MORE

19 ธันวาคม 2020

เดินเร็ว
READ MORE

20 ธันวาคม 2020

Kegels
READ MORE

20 ธันวาคม 2020

5 ท่าโยคะสำหรับคู่รัก เสริมความสัมพันธ์ชีวิตคู่อัพเลเวลความฟินเรื่องบนเตียง
READ MORE

20 ธันวาคม 2020

มีเพศสัมพันธ์บ่อยน้ำเชื้อจะอ่อนลงจริงหรือ
READ MORE

20 ธันวาคม 2020

โฟเลตสารอาหารสำคัญก่อนฝากไข่-ฝากอสุจิ
READ MORE

20 ธันวาคม 2020

โปรตีนสารอาหารสำคัญของผู้หญิงเตรียมตั้งครรภ์-เตรียมฝากไข่
READ MORE

อาหารเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการที่ควรกินก่อนทำ ICSI (อิ๊กซี่)
READ MORE

อายุเกิน 40 ควรพิจารณาการทำ IVF ดีมั้ย?
READ MORE

20 ธันวาคม 2020

7 ขั้นตอนดูแลตัวเองและภรรยาก่อนการเก็บไข่-เก็บอสุจิ
READ MORE

20 ธันวาคม 2020

CoQ10 สารอาหารสำคัญหญิงเตรียมตั้งครรภ์
READ MORE

ICSI มาแล้ว 10 ครั้ง 4 แห่ง
READ MORE

ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่
READ MORE

อะไรคือสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก?
READ MORE

ไข่ที่ถูกแช่แข็งสามารถถูกเก็บรักษาไว้ได้นานเท่าไหร่?
READ MORE

TESE คืออะไร และ TESE เหมาะกับใคร?
READ MORE

ทำไมการตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์จึงสำคัญสำหรับทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง?
READ MORE

20 ธันวาคม 2020

4 วิธีการปฏิบัติตัวช่วงวางแผนตั้งครรภ์
READ MORE

04 มิถุนายน 2022

Congratulations Take the first step to the parenthood with BCC
READ MORE

กระบวนการเลือกคลินิกรักษาผู้มีบุตรยากและสิ่งที่ต้องพิจารณาเมื่อตัดสินใจ
READ MORE

ความสำคัญของการดูแลสุขภาพจิตระหว่างการรักษาภาวะมีบุตรยาก
READ MORE

ทำไมประเทศไทยจึงกลายเป็นจุดหมายหลักของตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้มีบุตรยาก
READ MORE

การตั้งครรภ์และโรคภูมิแพ้: วิธีจัดการและป้องกัน
READ MORE

IVF คืออะไร?
READ MORE

IUI คืออะไร? ทำความเข้าใจกับการฉีดอสุจิเข้าโพรงมดลูก
READ MORE

เคล็ด(ไม่)ลับ เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเริ่มต้นครอบครัว
READ MORE

ภาวะมีบุตรยาก มีลูกลำบาก เกิดจากอะไร
READ MORE

ภาวะมีบุตรยากในเพศชาย : การทำความเข้าใจถึงสาเหตุ การทดสอบ และทางเลือกในการรักษา
READ MORE

เคล็ดลับในการจัดการความเครียดในขณะพยายามตั้งครรภ์
READ MORE

เส้นทางสู่การเป็นคุณพ่อคุณแม่ด้วยกระบวนการรักษาภาวะมีบุตรยาก
READ MORE

วิทยาศาสตร์กับการทำ ICSI: มีกระบวนการและขั้นตอนอย่างไร?
READ MORE

ภาวะมีบุตรยากแบบทุติยภูมิ: การทำความเข้าใจถึงความท้าทายของการตั้งครรภ์ครั้งที่สอง
READ MORE

การรักษาภาวะการเจริญพันธุ์: ตัวเลือกและข้อพิจารณาสำหรับคุณและคู่รักของคุณ
READ MORE

ความเสี่ยงและประโยชน์ของกระบวนการทำ TESE ในการรักษาภาวะมีบุตรยากในชาย
READ MORE

แท้งบุตร อยากท้องใหม่ยากไหม? ข้อพิจารณาด้านอารมณ์และด้านการแพทย์
READ MORE

การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนฝังตัว (PGT) คืออะไรและมีประโยชน์ยังไง?
READ MORE

ทำความเข้าใจการตั้งครรภ์ลูกแฝดจากกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF)
READ MORE

หากเคยแท้งบุตร อยากท้องใหม่ยากไหม? ข้อพิจารณาด้านอารมณ์และด้านการแพทย์
READ MORE

จุดหมายหลักของการรักษา IVF: ทำไมกรุงเทพฯ จึงกลายเป็นจุดหมายอันดับต้น ๆ ในการรักษาภาวะมีบุตรยากของชาวต่างชาติ
READ MORE

28 พฤษภาคม 2020

การมีลูกตามวิธีธรรมชาติ
READ MORE

22 ธันวาคม 2021

ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่
READ MORE

27 พฤษภาคม 2020

บันทึกข้อมูลรอบประจำเดือนอย่างสม่ำเสมอ
READ MORE

27 พฤษภาคม 2020

สังเกตการตกไข่
READ MORE

22 ธันวาคม 2021

ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่
READ MORE

27 พฤษภาคม 2020

เลิกนิสัยสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์จัด
READ MORE

27 พฤษภาคม 2020

เว้นจากการออกกำลังกายหนักหน่วง
READ MORE

27 พฤษภาคม 2020

รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
READ MORE

27 พฤษภาคม 2020

รับประทานวิตามินเสริมก่อนคลอด
READ MORE

27 พฤษภาคม 2020

รักษาน้ำหนักให้ร่างกายมีสุขภาพดี
READ MORE

27 พฤษภาคม 2020

ระวังเรื่องภาวะการเสื่อมลงที่เกี่ยวข้องกับอายุ
READ MORE

27 พฤษภาคม 2020

รู้ว่าเมื่อไหร่ที่จะต้องความช่วยเหลือ
READ MORE