การรักษาและบริการของเรา

การรักษาและบริการของเรา

การย้ายตัวอ่อน

การย้ายตัวอ่อน

การย้ายตัวอ่อนคือส่วนสำคัญของกระบวนการผสมเทียม เมื่อตัวอย่างสเปิร์มสุขภาพดีและไข่ที่โตเต็มที่ถูกนำมารวมกันและปฏิสนธิภายในห้องแล็บปฏิบัติการ จะมีการผสมพันธุ์กันในแล็บเป็นระยะเวลา 5-6 วัน ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์คือระยะที่ตัวอ่อนโตเต็มที่และพร้อมสำหรับขั้นตอนการย้ายตัวอ่อนซึ่งตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์จะมีเซลล์ประมาณ 60-200 เซลล์ โดยทั่วไปตัวอ่อนจะเกิดขึ้นหลังจาก 5-6 วันหลังจากเลี้ยงตัวอ่อนเมื่อจากเก็บเซลล์ไข่เรียบร้อยแล้ว ตัวอ่อนที่เกิดขึ้นจะถูกย้ายกลับไปยังมดลูกของผู้เข้ารับการรักษา เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์โดยสำเร็จ ตัวอ่อนดังกล่าวจะต้องฝังตัวเข้ากับผนังมดลูกของผู้เข้ารับการรักษาโดยสมบูรณ์เท่านั้น
การย้ายตัวอ่อนมีความจำเป็นในหลากหลายสถานการณ์ ซึ่งรวมไปถึงกรณีความผิดปกติของการตกไข่ ความเสียหายของท่อนำไข่ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ความล้มเหลวของรังไข่ก่อนวัยอันควร เนื้องอกในมดลูก ความผิดปกติทางพันธุกรรมและการผลิตอสุจิบกพร่อง
การย้ายตัวอ่อนเข้าสู่มดลูกทำได้ง่ายและไม่เจ็บปวดอย่างที่กังวล โดยแพทย์จะทำการสอดหลอดพลาสติกขนาดเล็กมากที่ภายในบรรจุตัวอ่อนบลาสโตซิสต์ผ่านปากมดลูกเข้าไปในมดลูก
เมื่อย้ายตัวอ่อนเรียบร้อยแล้ว ผู้เข้ารับการรักษาควรนอนพักต่อประมาณ 1 ชั่วโมงและหลังจากนั้นก็สามารถกลับบ้านได้ทันทีไม่จำเป็นต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล อย่างไรก็ตามในช่วง 3-4 วันแรกหลังย้ายตัวอ่อนควรผ่อนคลายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ก่อให้เกิดเหงื่อ งดยกของหนัก งดเดินไปมาบ่อย ๆ และละเว้นจากการออกกำลังอย่างหนักหน่วงแต่สามารถเดินขึ้นลงบันไดได้ ผู้เข้ารับการรักษาสามารถอาบน้ำในห้องน้ำได้ตามปกติ ขับรถได้ตามความจำเป็นแต่ไม่ควรบ่อยมากนักและควรงดการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงนี้แต่ก็ไม่จำเป็นจะต้องนอนติดเตียงอยู่ตลอดเวลาด้วยเช่นกัน

วิธีการปฏิบัติตัวหลังการย้ายตัวอ่อน
● สามารถเดินทางด้วยเครื่องบินได้
● งดมีเพศสัมพันธ์และงดทำความสะอาดช่องคลอดหลังการย้ายตัวอ่อน
● งดออกกำลังกายอย่างหนัก เช่น การปีนเขา การวิ่งมาราธอน การตีเทนนิส เป็นต้น
● งดใช้ยาอื่นนอกเหนือจากคำสั่งของแพทย์หรือในกรณีสงสัยโปรดปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยาใด ๆ

การแช่แข็ง ไข่ อสุจิ และตัวอ่อน

การแช่แข็ง – ไข่ อสุจิ และตัวอ่อน

กระบวนการแช่แข็งถูกนำมาใช้สำหรับวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถใช้ตัวอย่างได้สำเร็จในภายหลัง การแช่แข็งไข่ อสุจิ และตัวอ่อนสามารถเก็บรักษาตัวอย่างไว้ได้ทำให้หลายคนสามารถใช้มันต่อไปในการวางแผนครอบครัว
การแช่แข็งไข่คือการเก็บไข่จากผู้เข้ารับการรักษาหญิงและนำไปแช่แข็งเอาไว้ ในขณะที่การแช่แข็งอสุจิหมายถึงกระบวนการเดียวกันสำหรับผู้ชายแต่เป็นการเก็บตัวอย่างอสุจิแทน
อย่างไรก็ตามผู้เข้ารับการรักษาสามารถเลือกรับการรักษาผ่านวิธีการปฏิสนธิภายนอกร่างกายหรือการทำเด็กหลอดแก้วและทำให้ไข่/อสุจิของพวกเขาปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนที่แข็งแรงก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการแช่แข็งก็ได้เช่นกัน สิ่งนี้ทำให้มั่นใจว่าเมื่อมาถึงจุดหนึ่งในอนาคตที่พวกเขาพร้อมจะมีบุตร พวกเขาจะมีตัวอ่อนที่มีสุขภาพแข็งแรงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ไม่ว่าในขณะนั้นจะมีอายุเท่าไรกันก็ตาม

● การแช่แข็งไข่:
นี่คือกระบวนการนำไข่ออกจากรังไข่ไปแช่แข็งเอาไว้ซึ่งวิธีนี้จะไม่ทำร้ายเซลล์ทั้งหมด โดยไข่สามารถเก็บรักษาเอาไว้ได้เป็นระยะเวลาหลายปี หากผู้เข้ารับการรักษาต้องการตั้งครรภ์เพื่อมีบุตร ไข่ที่ได้รับการแช่แข็งเอาไว้สามารถผสมกับอสุจิและกระบวนการย้ายตัวอ่อน นอกจากนี้การแช่แข็งไข่สำหรับใช้ในอนาคตยังมีเหตุผลทางการแพทย์หรือเป็นการเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ในเวลาที่เหมาะสมเพราะเมื่อผู้หญิงมีอายุมากขึ้นปริมาณและคุณภาพของไข่ก็จะลดลงและส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากหรือความเสี่ยงโครโมโซมผิดปกติในเด็กได้อีกด้วย ปัญหาจะเพิ่มโอกาสในการแท้งบุตร ดังนั้นหากไข่ได้รับการแช่แข็งในช่วงอายุที่เหมาะสมโดยที่ไข่มีคุณภาพที่ดีและมีปริมาณเพียงพอจะช่วยเพิ่มโอกาสในการมีบุตรที่สุขภาพแข็งแรงเป็นปกติได้เมื่อผู้เข้ารับการรักษาพร้อมสำหรับการมีบุตรแล้วในภายหลัง
การแช่แข็งไข่ของผู้เข้ารับการรักษาเอาไว้เป็นวิธีที่ใช้เพื่อรักษาภาวะเจริญพันธุ์ โดยมักเลือกใช้วิธีนี้เพื่อให้สามารถตั้งครรภ์และมีบุตรได้ในภายหลัง กระบวนการรักษาคือการเก็บไข่ของผู้เข้ารับการรักษาหญิงโดยผู้เชี่ยวชาญก่อนจะนำไปแช่แข็งเก็บไว้และละลายในอนาคตเมื่อผู้เข้ารับการรักษาต้องการรักษาภาวะมีบุตรยาก โอกาสตามธรรมชาติของการตั้งครรภ์จะลดลงเมื่อผู้หญิงมีอายุมากถึงจุดหนึ่งและปริมาณไข่ก็จะลดลงด้วยเช่นกัน การแช่แข็งไข่เก็บไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ช่วยทำให้แน่ใจว่าไข่ที่จะนำมาใช้ในการรักษาภาวะมีบุตรยากนั้นจะมีคุณภาพสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้และยังเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้สำเร็จด้วยเช่นกัน

● การแช่แข็งอสุจิ:
อสุจิถูกแช่แข็งและเก็บไว้ในถังไนโตรเจนเหลวและสามารถเก็บไว้ได้มากกว่า 10 ปี นี่คือบริการสำหรับผู้ชายที่ต้องการทำหมันแต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการเก็บอสุจิบางส่วนเอาไว้ด้วยเผื่อในกรณีที่ต้องการมีบุตรในภายหลังหรือต้องการรักษาอาการของโรคบางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ เช่น การรักษามะเร็งโดยการฉายรังสี การทำเคมีบำบัด (คีโม) ฯลฯ หรือบางคนไม่สามารถเก็บอสุจิในวันที่ฉีดหรือเก็บไข่ พวกเขาก็สามารถเลือกเก็บอสุจิและแช่แข็งเอาไว้ล่วงหน้าได้

● การแช่แข็งตัวอ่อน
มีเพียงตัวอ่อน 1-2 ตัวเท่านั้นที่จะถูกเลือกเพื่อย้ายไปยังมดลูกของผู้เข้ารับการรักษา โดยตัวอ่อนที่เหลืออยู่จะถูกแช่แข็งในไนโตรเจนเหลวเพื่อเก็บไว้ใช้ในภายหลัง แต่หากต้องการใช้ตัวอ่อนดังกล่าว มันจะถูกละลายและย้ายกลับไปสู่มดลูกอีกครั้งโดยกระบวนการย้ายตัวอ่อน

การเก็บอสุจิจากอัณฑะโดยใช้วิธีการผ่าตัด

การเก็บอสุจิจากอัณฑะโดยใช้วิธีการผ่าตัด (TESE/PESA)

TESE หมายถึงกระบวนการ Testicular Sperm Extraction ในขณะที่ PESA ย่อมาจาก Percutaneous Epididymal Sperm Aspiration ทั้งคู่คือเทคนิคการสกัดอสุจิที่ใช้ภายในกระบวนการอิ๊กซี่ (ICSI) และการทำเด็กหลอดแก้ว ซึ่งออกแบบมาเพื่อเก็บอสุจิจากผู้ชายที่มีปัญหาจากภาวะที่ไม่มีตัวอสุจิภาวะที่ฝ่ายชายเป็นหมันหรือไม่พบตัวอสุจิเลยในน้ำเชื้อ กรณีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อคู่สมรสชายไม่มีตัวอสุจิเลยจากตัวอย่างน้ำเชื้อที่หลั่งออกมาจึงต้องใช้การผ่าตัดโดยการแพทย์เข้ามาช่วยเหลือ สำหรับการรักษาด้วยวิธี PESA จะใช้เข็มขนาดเล็กแทงผ่านผิวหนังบริเวณอัณฑะแล้วดูดเอาตัวอสุจิออกมาจากท่อพักน้ำเชื้อ ส่วนการรักษาโดยวิธี TESE จะเป็นการผ่าตัดเปิดเนื้ออัณฑะออกบางส่วนเพื่อสกัดตัวอย่างเนื้อเยื่อและตัวอสุจิ โดยแต่ละกรณีจะเกิดขึ้นภายใต้การใช้ยาชาเฉพาะที่และยาสลบทั่วไปตามลำดับ

การเก็บอสุจิผ่านการผ่าตัด (TESE/PESA)

การเก็บอสุจิผ่านการผ่าตัดเป็นอีกวิธีหนึ่งในการรักษาภาวะมีบุตรยากซึ่งเป็นการผ่าตัดหรือดูดอสุจิจากอัณฑะหรือท่อพักน้ำเชื้อแทนการหลั่งเอาอสุจิออกตามธรรมชาติ การเก็บอสุจิผ่านการผ่าตัดคือการช่วยเหลือผู้ชายที่มีอสุจิน้อยหรือไม่มีเลยซึ่งเกิดจากการอุดตันของหลอดนำอสุจิ ไม่มีท่อนำอสุจิมาตั้งแต่กำเนิด การอุดตันของท่อเก็บอสุจิที่อยู่ติดกับหลอดนำอสุจิซึ่งส่วนใหญ่ผลิตอสุจิที่แข็งแรงในอัณฑะดังนั้นเราจึงสามารถเก็บอสุจิได้โดยการผ่าตัด ผู้ชายบางคนมีลูกอัณฑะแต่ไม่สามารถผลิตอสุจิได้เลยในกรณีนี้ไม่สามารถทำการผ่าตัดเพื่อเก็บอสุจิได้

  • Percutaneous Epididymal Sperm Aspiration (PESA) คือการใช้เข็มแทงผ่านบริเวณผิวอัณฑะเข้าสู่ต่อมสร้างน้ำอสุจิแล้วค่อย เก็บอสุจิออกมา
  • Testicular Sperm Extraction (TESE) คือการผ่าตัดเอาเนื้ออัณฑะบางส่วนและแยกตัวอสุจิในอัณฑะออกมา