การย้ายตัวอ่อน

การย้ายตัวอ่อนคือส่วนสำคัญของกระบวนการผสมเทียม เมื่อตัวอย่างสเปิร์มสุขภาพดีและไข่ที่โตเต็มที่ถูกนำมารวมกันและปฏิสนธิภายในห้องแล็บปฏิบัติการ จะมีการผสมพันธุ์กันในแล็บเป็นระยะเวลา 5-6 วัน ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์คือระยะที่ตัวอ่อนโตเต็มที่และพร้อมสำหรับขั้นตอนการย้ายตัวอ่อนซึ่งตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์จะมีเซลล์ประมาณ 60-200 เซลล์ โดยทั่วไปตัวอ่อนจะเกิดขึ้นหลังจาก 5-6 วันหลังจากเลี้ยงตัวอ่อนเมื่อจากเก็บเซลล์ไข่เรียบร้อยแล้ว ตัวอ่อนที่เกิดขึ้นจะถูกย้ายกลับไปยังมดลูกของผู้เข้ารับการรักษา เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์โดยสำเร็จ ตัวอ่อนดังกล่าวจะต้องฝังตัวเข้ากับผนังมดลูกของผู้เข้ารับการรักษาโดยสมบูรณ์เท่านั้น
การย้ายตัวอ่อนมีความจำเป็นในหลากหลายสถานการณ์ ซึ่งรวมไปถึงกรณีความผิดปกติของการตกไข่ ความเสียหายของท่อนำไข่ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ความล้มเหลวของรังไข่ก่อนวัยอันควร เนื้องอกในมดลูก ความผิดปกติทางพันธุกรรมและการผลิตอสุจิบกพร่อง
การย้ายตัวอ่อนเข้าสู่มดลูกทำได้ง่ายและไม่เจ็บปวดอย่างที่กังวล โดยแพทย์จะทำการสอดหลอดพลาสติกขนาดเล็กมากที่ภายในบรรจุตัวอ่อนบลาสโตซิสต์ผ่านปากมดลูกเข้าไปในมดลูก
เมื่อย้ายตัวอ่อนเรียบร้อยแล้ว ผู้เข้ารับการรักษาควรนอนพักต่อประมาณ 1 ชั่วโมงและหลังจากนั้นก็สามารถกลับบ้านได้ทันทีไม่จำเป็นต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล อย่างไรก็ตามในช่วง 3-4 วันแรกหลังย้ายตัวอ่อนควรผ่อนคลายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ก่อให้เกิดเหงื่อ งดยกของหนัก งดเดินไปมาบ่อย ๆ และละเว้นจากการออกกำลังอย่างหนักหน่วงแต่สามารถเดินขึ้นลงบันไดได้ ผู้เข้ารับการรักษาสามารถอาบน้ำในห้องน้ำได้ตามปกติ ขับรถได้ตามความจำเป็นแต่ไม่ควรบ่อยมากนักและควรงดการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงนี้แต่ก็ไม่จำเป็นจะต้องนอนติดเตียงอยู่ตลอดเวลาด้วยเช่นกัน

วิธีการปฏิบัติตัวหลังการย้ายตัวอ่อน
● สามารถเดินทางด้วยเครื่องบินได้
● งดมีเพศสัมพันธ์และงดทำความสะอาดช่องคลอดหลังการย้ายตัวอ่อน
● งดออกกำลังกายอย่างหนัก เช่น การปีนเขา การวิ่งมาราธอน การตีเทนนิส เป็นต้น
● งดใช้ยาอื่นนอกเหนือจากคำสั่งของแพทย์หรือในกรณีสงสัยโปรดปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยาใด ๆ